HOME

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Drone อากาศยานแห่งโลกอนาคต !!

        Unmanned Aerial Vehicle (UAV) หรือ Drone เราเรียกกันแบบไทยๆก็คือ อากาศยานไร้คนขับนั้นเอง ตอนนี้ โดรนถูกพัฒนามาใช้งานอย่างหลากหลาย ในอนาคตอันใกล้เราอาจจะเห็นเมืองที่เต็มไปด้วยเหล่าโดรนก็เป็นได้

       โดรน ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกจากแนวคิดของบิดาแห่งไฟฟ้ากระแสสลับ Nikola Tesla ในปี 1915 
และถูกสร้างเป็นครั้งแรกในปี 1916 โดย Archibald Montgomery เพื่อใช้เป็นเป้าฝึกทางการทหาร ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดรนก็ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 
โดรนก็ถูกนำมาเป็นเป้าฝึกให้กับพลปืนต่อต้านอากาศยาน


พรีเดเตอร์
 พอหมดยุคสงครามโลกครั้งที่ 2  รัสเซียเริ่มมีการประยุกต์ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นร่วมกับโดรน และสหัรัฐอเมริกาก็มีการพัฒนาโดรนโดยทำให้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนนำไปสู่การใช้โดรนในภารกิจสอดแนม และช่วงหลังก็กำเนิดโดรนนามว่า "พรีเดเตอร์" ซึ่งมีเครื่องยนต์ 101 แรงม้า เพดานบินสูงถึง 7,600 เมตร บินได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 216 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธในที่สุด 

พรีเดเตอร์
โดรน (Drone) กับสงครามยุคใหม่
      การใช้โดรนเพื่อการรบเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ปี 2001 ในสงครามที่อัฟกานิสถาน โดรนถูกใช้ในการสังหารกลุ่มผู้นำของอัลกออิดะฮ์ต่อมา โดรนถูกใช้ในการรบทั้งที่ อัฟกานิสถาน อิรัก ปากีสถาน โซมาเลีย และเยเมน เฉพาะในปากีสถานที่เดียวมีการโจมตีทางอากาศโดยใช้โดรนถึง 300 ครั้ง การโจมตีจากโดรนในปากีสถานทำให้เกิดการประท้วง ด้วยป้ายที่เขียนว่า " DRONES FLY CHILDREN DIE "





       ในช่วง 10 ปีแรกของการใช้โดรนในการสงครามมีเพียงสหรัฐฯเท่านั้นที่มีกองทัพโดรนในครอบครอง แต่ในปัจจุบัน มีมากกว่า 70 ประเทศที่มีกองทัพโดรนไว้ในครอบครอง จากนักวิเคราะห์ข้อมูลทางการทหาร (2013) เผยว่านี้เป็นแค่การเริ่มต้นของการแข่งขันเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันสหรัฐฯมีกองทัพโดรนอยู่ในครอบครองราว 7,500 ลำ ซึ่งโดรนในปัจจุบันมีทั้งขนาดเล็กจิ๋วใช้ในการสอดแนม และขนาดเท่าเครื่องบินรบเลยทีเดียว กลุ่มประเทศในยุโรปเองก็ถึงกับมีการพัฒนาโดรนรวมกันภายใต้โครงการ (nEUROn) ซึ่งต้องการพัฒนาโดรนขนาดเท่า F-16 และมีคุณสมบัติ stealth (หลบเลี่ยงการตรวจจับ) รวมทั้งยังมีการพัฒนาโดรนอีกหลายชนิด เช่น โดรนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งได้เหมือนเฮลิคอปเตอร์ หรือ นาโนโดรน ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 16 กรัม อีกด้วย


nEUROn

ทำไมต้องโดรน ?
      ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันสูงทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดมีขนาดเล็กจิ๋วลงแต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ ทั้งเซ็นเซอร์วัดทิศทาง ชิปจีพีเอส เครื่องวัดสนามแม่เหล็กเป็นต้น ทำให้การพัฒนาเหล่าโดรนนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น ออกแบบและใช้งานได้หลากหลาย
      อีกสาเหตุสำคัญก็คือ "นักบินค่าตัวสูง" ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และราคาของโดรนนั้นสูงกว่าเครื่องบินรบและเฮลิคอปเตอร์แต่ค่าใช้จ่ายในการฝึกนักบินนั้นสูงกว่ามาก และการสูญเสียนักบินนั้นไม่เป็นเรื่องดีแน่นอน
       
โดรนทำอะไรได้อีก ?
        นอกจากใช้ในการสงครามแล้วนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยยูทาห์-สเตทในสหรัฐอเมริกาได้สร้างโดรนในชื่อ แอ็กกีแอร์ (AggieAir) ใช้สำรวจพื้นที่ชุ่มน้ำ วัดอัตราการเติบโตของต้นไม้ ทำแผนที่การกระจายพันธุ์ของพืช เก็บข้อมูลสันดอนทรายกลางแม่น้ำ เก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับ ระดับความชื้นในดิน เป็นต้น ยังมีการใช้โดรนในการเก็บเกี่ยวข้อมูล และสำรวจสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ สำรวจแม่น้ำและมหาสมุทรด้วย ใช้ในการสำรวจท่อส่งก๊าซ ค้นหาบุคคลสูญหาย และในอังกฤษยังใช้โดรนในการตรวจสอบสภาพการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนด้วย
       ที่มหาวิทยาลัยโคโลราโดยังมีการพัฒนาโดรนในชื่อโกเจตต์ (GoJett) ที่อาจบินได้ด้วยความเร็วเกิน 1.4 มัค (1 มัคเท่ากับ ความเร็ซ 1,225 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง) เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลใจกลางพายุเฮอร์ริเคน
GoJett

        ยังมีการพัฒนา LifeDrone ที่ไว้สำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยการหย่อนเสื้อชูชีพให้ผู้ประสบภัยตามชายฝั่งขณะมีพายุ และยังมี RoboBee ซึ่งมีขนาดเล็กสามารถนำไปใช้ผสมเกสรดอกไม้เหมือนพึ่ง ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และตรวจการจราจรบนท้องถนน และยังมีการพัฒนาให้ RoboBee สามารถทำงานร่วมกันเป็นฝูงได้อีกด้วย
       อีกไม่นานเราอาจจะเห็นโดรนตามท้องถนนทั่วไปและอาจจะได้เห็นโดรนบินส่งของตามคำสั่งซื้อในอินเตอร์เน็ต หรืออาจจะหมดยุคของการใช้นักบินในการทำการรบในเร็ววันนี้ก็ได้

      แต่อย่างไรก็เห็นได้ว่าเทคโนโลยีในโลกเรานั้นก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ทุกเทคโนโลยีต่างก็มีสองด้าน โดรนสามารถนำไปใช้ในการสำรวจ ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และอำนวยความสะดวกได้ แต่อีกนัยนึงโดรนก็เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทำลาย และใช้ในการสงคราม หรือใช้ในการสอดแนม(คุกคามความเป็นส่วนตัว) อีกด้วย  เรื่องนี้มีแต่ตัวผู้ใช้เทคโนโลยีเท่านั้นที่จะตัดสินใจใช้มันไปในทางใด บางครั้งประโยชน์อาจจะมาพร้อมกับโทษก็ได้
     
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
ความเป็นมาของ DRONE และประวัติการใช้อากาศยานไร้คนขับในไทย
http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=129:nmanned-aerial-vehicle-intro&catid=8:special-article&Itemid=10
เกี่ยวกับ DRONE http://en.wikipedia.org/wiki/Unmanned_aerial_vehicle
อยากทำDRONE เอง http://diydrones.com/

        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น